ภาพ |
ประวัติอัลบั้ม | ประวัติย่อ คาราบาว |
ปกอัลบั้ม |
ข่าว News |
กระดานฝากข่าว |
Home |
คาราบาว ก่อตั้งโดยคน 2 คน ที่เป็นเพื่อนกันคือ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) และ กีรติ
พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ทั้งคู่เป็นเพื่อนนักเรียน ที่ไปเรียนวิชา สถาปัตย์ ที่ประเทศ ฟิลิปปินส์
ด้วยกัน พอกลับมาเมืองไทย แอ๊ด ได้งานเป็นสถาปนิก ที่การเคหะแห่งชาติ แต่ไม่นานนักก็ลาออกมาเล่นดนตรีกับ
เขียว โดยตระเวณเล่นตามที่ต่างๆ เวลากลางคืน ใช่ชื่อวง คาราบาว
คำว่า "คาราบาว" เป็นภาษา ตากาล็อก ภาษาประจำชาติของ
ฟิลิปปินส์ มีความหมายว่า ...ควาย... ที่ใช้ชื่อนี้เพราะแอ๊ดต้องการสือถึงการต่อสู้ที่มีความอึด และทนทางความคิดผ่านทางเนื้อเพลงที่เขาเขียนขึ้น
ปี 2524 ขี้เมา เป็นชุดแรกที่ออกมาโดย แอ๊ด และ เขียว หลังจากนั้นไม่นาน ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) ซึ่งเป็นเพื่อนแอ๊ดสมัยเรียนที่ อุเทนถวาย ก็ลาออกจากวง เพรสซิเดนท์ เข้ามาร่วมในวง คาราบาว
ปี 2525 ออกอัลบั้ม แป๊ะขายขวด ชุดนี้มี เล็ก มาเป็นสมาชิกอีก 1 คน อัลบั้มนี้ทำเป็นเทปกับบริษัท Peacock ออกมาประมาณ 20,000 ม้วน ต่อมากลายเป็นอัลบั้มที่มีการซื้อ-ขายในกลุ่มนักสะสมเทปราคาสูงถึง 2,000 บาท ผ่านไป 2 อัลบั้ม ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก
"ทางเลือกใหม่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของผมอย่างเงียบๆ ดนตรีในแบบเพื่อชีวิตที่เคยเป็นแต่อะคูสติกล้วนๆ อย่างแฮมเมอร์ หรือจรัล มโนเพ็ชร กำลังจะถูกเสียงร้องอันสูงทะลุทะลวงของผม กีตาร์ไฟฟ้าที่จัดจ้านของเล็ก และความหนักแน่นในพลังเพลงร็อก กลบเสียงเก่าๆ แบบนั้นลง ความมั่นใจซึ่งไม่เคยมีเลยในตอนเริ่มต้นทำชุก ขี้เมา กลับเหือดหายไปจากสมองของผมโดยสิ้นเชิง" |
กระทั่งปี 2526 ออกอัลบั้ม วณิพก ซึ่งเพลง 'วณิพก' นี่เองทำให้วง คาราบาว เป็นที่รู้จักมากขึ้น ด้วยจังหวะเพลงและเนื้อหาที่แปลกไปจากเพลงไทยในสมัยนั้น ถัดมาไม่กี่เดือน ก็ออกอัลบั้ม ท.ทหารอดทน มีนักดนตรีรับเชิญมาร่วมสร้างสีดนตรีให้แน่นขึ้น มีเพลงฮิตคือ 'ทินเนอร์' กับ 'ท.ทหารอดทน' หลังจากมีการออกอากาศไม่นาน ก็โดนแบน
ปี 2527 เมด อิน ไทยแลนด์ เป็นสุดยอดอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวง และของประเทศไทยกับยอดขายกว่า 3 ล้านชุด ด้วยบทเพลงที่ดังทั้ง
บุคลิกสมาชิกและการแสดงบนเวทีที่ไม่เหมือนใคร ความแรงของงานชุดนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก คาราบาว แม้แต่ต่างประเทศในหลายๆ ประเทศเอง
(แถบภูมิภาคเอเซียทั้งหมด อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ)
มีสมาชิก 7 คนที่บางคนเรียกว่านี่คือ สมาชิกยุกคลาสสิก คือ
ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว) ปรีชา ชนะภัย (เล็ก) เทียรี่ เมฆวัฒนา ( รี่ ) นุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี (อาจารย์) |
ทุกครั้งที่มีการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ๆ สามารถเรียกคนดูเรือนหมื่นเสมอ ในปี 2529 คาราบาว เล่นคอนเสิร์ตยิ่งใหญ่ที่สุดที่สนาม หัวหมาก มีแฟนเพลงจำนวนถึง 60,000 คน จำนวนครั้งการเล่นทั้งในและนอกประเทศนับไม่ถ้วน
หลังจากอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ วงคาราบาว ยังคงออกงานเพลงมาสม่ำเสมอ
และเป็นเรื่องปกติเช่นกันที่ทุกครั้งที่ออกอัลบั้มมา จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเพลงที่ถูกสั่งห้ามออกอากาศทุกครั้ง
ที่มีมุมมองแหลมคมกินใจ บอกเล่าเหตุการณ์ความเป็นไปในสังคม ชุด ประชาธิปไตย โดนแบนถึง 3 เพลง
ชุดที่ 9 อัลบั้ม ทับหลัง เป็นชุดสุดท้ายที่ สมาชิกยุกคลาสสิก ทำงานด้วยกันก่อนมีการแยกย้ายกันไป คงเหลือแต่ แอ๊ด อ๊อด เล็ก ที่เป็นสมาชิกเดิมอยู่
โดยจะมีนักดนตรีอื่นที่มีฝีมือมาเล่นแทนไนตำแหน่งของสมาชิกที่ออกไป
ครบรอบ 15ปี ที่มีการตั้งวง คาราบาว สมาชิกยุก เมด อิน ไทยแลนด์ มีการรวมตัวทำงานกันอีกครั้ง ออกอัลบั้มชุด หากหัวใจยังรักควาย 15ปี คาราบาว (บทเพลงทั้งหมด 20 เพลง) แล้วตระเวณเล่นคอนเสิร์ตทั่วประเทศ ก่อนแยกย้ายกันไปอีกหนในเวลาต่อมา
แต่ แอ๊ด ก็เดินหน้าทำงานที่เป็นประกายความคิดทางสังคมผ่านเสียงเพลงต่อไปกับวง คาราบาว
อ๊อด ยังคงอยู่กับวงตลอด ร่วมกับ ลืชัย งามสม (ดุก), ชูชาติ หนูด้วง (โก้), ขจรสักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี), ศยาพร สิงห์ทอง (น้อง)
เล็ก และ เทียรี่ หวนกลับมาเล่นกับ คาราบาว ในอัลบั้มล่าสุด รวมทั้งออกทัวร์คอนเสิร์ตด้วย
ในปีนี้ บรรดาแฟนเพลงจะได้ชมการฉลองครบรอบ 20 ปี ของวง คาราบาว ตำนานเพลงเพื่อชีวิต